หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2555

สถาปัตยกรรมไทย : อยุธยา

(วิหารพระมงคลบพิตร จ. อยุธยา ก่อนการบูรณะ) 

อยุธยา พ.ศ. 2000 – 2300

อยุธยาได้รับอิทธิพลของพระพุทธศาสนาอิทธิพลแนวคิดอารยธรรมของขอม เอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรมอยุธยาคือ ความยิ่งใหญ่ ร่ำรวย นิยมแกะสลักและปิดทองแพรวราว รูปทรงของสถาปัตยกรรมได้รับอิทธพลจากอาณาจักรรอบข้าง จึงเปลี่ยนไปตามยุคสมัย โบสถ์ วิหาร ไม่นิยมให้ชายคายื่นออกมาจากหัวเสามากนัก ส่วนใหญ่มีบัวหัวเสาเป็นรูปบัวตูม นิยมเจาะผนังเป็นลูกกรงเล็กๆ แทนช่องหน้าต่าง มักสร้างให้มีขนาดใหญ่โตโน้มนำความรู้สึกให้ยำเกรง ลักษณ์โดดเด่นอีกอย่างคือ ปล่อยให้แสงสาดเข้ามาในตัวอาคารมากขึ้น


(วิหารพระมงคลบพิตร จ. อยุธยา หลังการบูรณะ) 


รูปแบบสถาปัตยกรรมเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อมีการติดต่อกับตะวันตก โดยเฉพาะสมัยพระนารายณ์มหาราช ในยุคหลังนิยมสร้างอาคารสองชั้น และทำช่องหน้าต่างแบบแหลมโค้ง มีการตบแต่งซุ้มประตู ฐานอาคารมีการตกท้องช้อง สัดส่วนอาคารค่อนข้างแคบและสูง หลังคานิยมทำเป็นผืนใหญ่ 3 ชั้น เสาอาคารย่อมุมไม้สิบสอง หัวเสาแบบบัวจงกล 


(พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จ. ลพบุรี) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม