(พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทและพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร)
รัตนโกสินทร์
สมัยรัตนโกสินทร์ตอนสร้าง เมื่อสมัยรัชกาลที่ 1 เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทำให้กรุงเทพฯเป็นกรุงศรีอยุธยาแห่งที่ 2 กล่าวคือสร้างสถาปัตยกรรมที่สำคัญเลียนแบบอย่างมาจากกรุงศรีอยุธยารวมไปถึงบ้านพักอาศัย เรือนไทยบางเรือนที่ยังเหลือจากการทำศึกกับพม่า ก็ถูกถ่ายทอดจากกรุงศรีอยุธยามาประกอบที่กรุงเทพ
(เรือนไทยสมัยรัตนโกสินทร์)
สมัยรัชกาลที่ 3 นับเป็นยุคทองแห่งศิลปะจีน มีการใช้การก่ออิฐถือปูนและใช้ลวดลายดินกระเบื้องเคลือบประดับหน้าบันแทนแบบเดิม
(วัดราชโอรสารามราชวรมหาวิหาร วัดประจำรัชกาลที่ 3 มีการนำกระเบื้องเคลือบจากจีนมาตบแต่ง)
สมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มมีการติดต่อกับชาติตะวันตกมากขึ้น จึงได้รับอิทธิพลทางศิลปะทางศิลปะเข้ามา เช่น วัดนิเวศธรรมประวัติ ในจังหวัดอยุธยา ซึ่งเป็นศิลปะแบบกอธิค
(ภายนอกพระอุโบสถ วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรมหาวิหาร จ. พระนครศรีอยุธยา)
ต่อมาในยุคล่าอาณานิคม สถาปัตยกรรม ศิลปกรรมจึงมีหน้าตาเป็นแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกมากขึ้น บ้านเรือนเปลี่ยนเป็นตึกก่ออิฐถือปูน มีการวางแผนผังแบบสากล ไม่ใช้ Open Plan แบบเก่า มีการกั้นห้องเพื่อรองรับกิจกรรมที่ต่างกัน
(สมเด็จพระกรมพระยาดำรงราชานุภาพ)
สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพได้แบ่งบ้านเรือนในกรุงเทพตามวัฒนธรรมเป็น 3 แบบ คือ
1. แบบเดิม เคยทำมาอย่างไรก็ทำมาแบบนั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลง เช่น วังเจ้าบ้านนายทุน
2. แบบผสม เอาตึกฝรั่งหรือเก๋งจีนมาสร้างแทรกบาง เช่น การแก้ไขตำหนักที่วังท่าพระ
(วังท่าพระ กรุงเทพมหานคร เป็นการนำศิลปะแบบตะวันตกเข้ามาใช้ในอาคารบ้านเรือน)
พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ เป็นสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งในสมัยรัชกาลที่ 5
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น